2 ก.ย. 2551


วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551
Tuesday 2 September 2008

วันนี้พวกเรารีบไปพบแพทย์เพื่อว่าจะได้ทราบว่าจะแก้ปัญหาน้องอย่างไรต่อ ซึ่งพวกเราต้องบอกว่าแพทย์ได้สร้างความประหลาดใจให้พวกเรามากในวันนี้ เพราะว่าที่โต๊ะท่านมีคอมพิวเตอร์แบบพกพามาวางตรงโต๊ะของท่านเป็นครั้งแรกตั้งแต่พวกเราพาน้องมารับการรักษากับท่าน แค่นั้นยังไม่พอ เมื่อน้องเล่าให้ฟังว่าน้องสามารถคลำก้อนเนื้อได้ที่หน้าอก แพทย์ก็บอกว่าให้ขึ้นไปตรวจบนเตียง นี่เป็นครั้งแรกที่แพทย์ตรวจน้องอีกเช่นกัน หลังจากนั้นเริ่มมีวาดภาพลงในเวชระเบียน ซึ่งนี่ก็เป็นครั้งแรกอีกเช่นกัน ตั้งแต่คุณพ่อมาพบแพทย์รู้สึกว่าแพทย์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเหมือนแพทย์ท่านอื่นๆทั่วๆไปบ้าง มีเพียงแต่ยังไม่ได้อ่านฟิล์มเช่นเดิม แต่ไม่ทราบว่าแพทย์จะเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ตลอดไปหรือไม่

แพทย์ก็มีบอกให้น้องเข้ามาเจาะเลือดดูอีกครั้งวันที่ 4 กันยายน และให้พยาบาลรายงานผลเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของเลือด ถ้าไม่สมบูรณ์แพทย์จะให้ใส่ยาเร่งอีก

หลังจากนั้นน้องก็ยังไม่สบายใจเกี่ยวกับเรื่องก้อนเนื้อที่หน้าอก น้องอยากหาสูตินารีแพทย์อีกครั้ง ซึ่งเราก็เลยไปขอพบแพทย์ที่แผนกสูตินารี ซึ่งเป็นแพทย์ใหญ่ที่คุณแม่ไปปรึกษาอยู่บ่อยๆ เมื่อเข้าไปพบแพทย์แล้ว แพทย์ก็ให้เล่าเรื่องราว หลังจากนั้นแพทย์ก็ให้ขึ้นไปตรวจ และท่านก็แนะนำให้ดูดก้อนเนื้อที่หน้าอกออก ซึ่งพวกเราก็ถามท่านถึงโอกาสที่จะเกิดการลุกลามเพิ่มขึ้น เพราะทุกก้อนที่ขึ้นมานี้คือก้อนที่น่าจะลุกลามมาจากการผ่าตัดเยื่อหุ้มหัวใจทั้งสิ้น ซึ่งก็คือก้อนเนื้อที่ขึ้นนั้น ขึ้นบริเวณที่ตรงตะเข็บบริเวณที่ผ่าตัด และนั่นก็น่าจะเพราะการผ่าถึงทำให้ลุกลามแบบนี้ พวกเราเลยไม่แน่ใจ ได้แต่ถามแพทย์ย้ำแล้วย้ำอีกว่า ถ้าเจาะหรือดูดออกจะไม่ลุกลามมากขึ้นอีกหรือ ท่านยังคงยืนยันให้เอาออก เพราะเก็บไว้ก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด และท่านก็หันกลับไปบอกพยาบาลให้นัดแพทย์อีกคนที่มีความชำนาญที่โรงพยาบาลให้ทันที แต่เป็นเพราะความโชคร้ายหรือโชคดีของน้องไม่รู้ แพทย์อีกท่านที่ชำนาญด้านนี้จะลาพักร้อนยาว และจะเข้ามาวันที่ 8 กันยายน แพทย์ก็เลยให้พยาบาลนัดวันนั้นให้แทน

เมื่อพวกเรากลับถึงบ้าน ทุกคนในครอบครัวก็พยายามช่วยกันปลอบใจน้องอย่างมาก เพราะทุกคนไม่อยากให้น้องหมดกำลังใจไปเสียก่อน

คืนนี้เพื่อนคุณพ่อแนะนำแพทย์คนหนึ่งที่อยู่แผนกฉายแสงที่อเมริกาให้ และให้เบอร์โทรศัพท์ให้เราลองไปปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาของน้อง ซึ่งต้องบอกว่าแพทย์ที่อเมริกากับแพทย์คนปัจจุบันของเราก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เนื่องจากเวลาที่ต่างกันของแต่ละประเทศ เมื่อเราโทรคุยกันตอนเที่ยงคืนที่กรุงเทพฯ เขาก็ตกใจที่ผู้หญิงเพียงแค่สามสิบสามแล้วเป็นมะเร็ง ทำไมถึงได้รับการรักษาแบบตามมีตามเกิด รักษาแบบรอแล้ว รอเล่า เขาสงสัยว่าทำไมถึงต้องรอการให้ยาแล้ว รออีก ถ้ายาไม่ตอบสนอง ทำไมไม่พยายามที่จะหาตัวช่วยในการรักษา เช่น การฉายแสง หรือการเติมยาตัวอื่นช่วยทุกระยะเวลากี่วัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยา แต่ให้แค่ยาตัวเดียวแล้วรอฟ้ารอฝนอยู่ทุกๆ ครั้งตั้งแต่เดือนเมษายน เขาถามคำถามหนึ่งที่ทำให้เราต้องสะดุดก็คือ “คุณรู้มั้ยว่าน้องสาวของคุณอายุเท่าไหร่ และเขายังมีอะไรที่ต้องทำอีกมากแค่ไหนในชีวิตของเขา ทำไมถึงไม่รีบจัดการอะไรสักอย่าง” เขารับปากว่าเขาจะช่วยดูแผนการรักษาให้ และนอกจากนั้นเขาก็บอกอีกว่าเขาพอจะแนะนำแพทย์ที่โรงพยาบาลที่กรุงเทพฯให้ได้บ้าง เพราะเขามีแพทย์ที่รู้จักกันบ้าง

หลังจากที่ฟังที่คุยกับแพทย์ที่อเมริกา เราก็รู้สึกว่ามีความหวังขึ้นทันที คืนนั้นจึงรีบไปส่งข้อมูลทุกๆ อย่างให้กับแพทย์ทางอีเมล์ เมื่อน้องฟังที่เราเล่าให้ฟังแล้ว น้องก็รู้สึกดีและมีความหวังขึ้นมามากขึ้น เพราะน้องเครียดมากกับการรักษาแบบแผนปัจจุบัน นอกจากจะไม่มีอะไรดีขึ้น แต่กลับมีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย

ผลการตรวจเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์
(Complete Blood Count: CBC)

HCT/HB - 31.9/11.1
WBC - 4,700
Neutrophil - 68
Lymphocyte - 23
Monocyte - 7
Platelets - 250,000

แสดงความคิดเห็น

Filtered HTML

  • To post pieces of code, surround them with <code>...</code> tags. For PHP code, you can use <?php ... ?>, which will also colour it based on syntax.
  • Web page addresses and e-mail addresses turn into links automatically.
  • You may quote other posts using [quote] tags.
  • Allowed HTML tags: <a> <em> <strong> <cite> <blockquote> <code> <ul> <ol> <li> <dl> <dt> <dd>
  • Lines and paragraphs break automatically.

Comment Input

  • Web page addresses and e-mail addresses turn into links automatically.
  • Allowed HTML tags: <a> <em> <strong> <cite> <code> <ul> <ol> <li> <dl> <dt> <dd> <p> <img> <center> <font> <u> <br/>
  • Lines and paragraphs break automatically.

Plain text

  • No HTML tags allowed.
  • Web page addresses and e-mail addresses turn into links automatically.
  • Lines and paragraphs break automatically.