17 พ.ย. 2551


วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
Monday 17 November 2008

เช้านี้แพทย์คีโมเข้ามาพบคนไข้ตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าเช่นเดิม เราคิดว่าแพทย์คีโมคงยังไม่ได้อ่านเวชระเบียนน้องก่อนเข้าห้องมา เพราะท่านเข้ามาบอกว่าเดี๋ยวน้องจะต้องไปทำอัลตร้าซาวนด์ตรวจดูอีกรอบ น้องจึงแจ้งท่านไปว่าน้องทำไปแล้วเมื่อวาน จากนั้น ท่านก็กล่าวต่อด้วยว่าตกลงแล้วน้องจะต้องทานยาคีโมตัวใหม่ทันที เดี๋ยวแพทย์คีโมจะจัดการสั่งให้ ซึ่งพวกเราก็ไม่ได้ตอบรับหรือปฏิเสธอะไร เพราะเรารู้แล้วน้องไม่อยากคีโมต่อแล้ว น้องเริ่มเบื่อกับการรักษาที่ไม่ได้ตอบสนองกับมะเร็งของน้องเลย และยาคีโมทุกๆ ตัวกลับส่งผลข้างเคียงให้น้องตลอด มีเพียงแต่ยาคีโมทานที่ชื่อว่า Tarceva ที่ส่งผลน้อยที่สุด

เมื่อแพทย์คีโมออกจากห้องไป พวกเราต่างไม่คุยกันเรื่องยาอีกเลย เพราะแพทย์ทางปอดที่เป็นญาติบอกว่าท่านจะจัดการให้ ประมาณเก้าโมงในช่วงเช้ามีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้นที่ห้องพักของน้อง ซึ่งคนที่โทรเข้ามาเป็นเภสัชกรของโรงพยาบาล เขาโทรเข้ามาแจ้งว่ายาคีโมที่แพทย์คีโมสั่งให้ทางเขาสั่งนั้นจะต้องสั่งเข้ามาแล้ว แต่เงื่อนไขของยาตัวนี้คือน้องจะต้องซื้อทั้งกล่อง ไม่แบ่งขายทั้งๆ ที่ๆ นี่เป็นโรงพยาบาลเอกชน เรารู้สึกเหมือนกับว่าเภสัชกรบอกความรู้สึกลางๆ ให้เรารู้ว่ายาตัวใหม่นี้ไม่มีคนไข้คนไหนใช้เลย เราจึงต้องรับสภาพไปว่าต้องซื้อยากล่องนี้ทั้งกล่อง เราจึงถามไปว่าต้องสั่งก่อนใช่หรือไม่ เภสัชกรแจ้งกลับมาว่าใช่และยังไม่ทราบกำหนดที่ยาจะมาถึงแน่นอน หลังจากวางโทรศัพท์เราจึงรีบโทรไปบอกน้องชายทั้งสองคนให้รีบหาข้อมูลเกี่ยวกับยาตัวนี้ ซึ่งมีชื่อว่าIRESSA

เพียงแค่ประมาณชั่วโมงเดียวเภสัชกรของโรงพยาบาลนำยาขึ้นมาให้ที่ห้องพักฟื้นของน้อง โดยที่พวกเราประหลาดใจมากว่ายามาถึงเร็วจริงๆ โดยปกติที่เราสั่งกับบริษัทยาโดยตรงจะใช้เวลาประมาณหนึ่งวัน และวันรุ่งขึ้นยาจะมาถึง แต่นี่เพียงแค่ประมาณชั่วโมงเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตามที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งนี้ดีกว่าโรงพยาบาลเอกชนย่านพระรามหกอีกแห่งที่น้องเคยไปพักฟื้นประจำ เพราะว่าที่นี่มีเภสัชกรขึ้นมาอธิบายการใช้ยา ผลข้างเคียงและให้พวกเราได้สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับยา ซึ่งปกติโรงพยาบาลชื่อดังอีกที่ ที่คุณปู่ไปรักษาก็จะมีเภสัชกรมาอธิบายเช่นกัน หลังจากนั้นน้องจึงทานยา แต่ที่ประหลาดใจที่สุดสำหรับเราคือน้องขอใบยาไปอ่านเอง โดยปกติที่ผ่านมาน้องแทบจะไม่เคยขออ่านใบยาเองเลย เมื่อน้องอ่านเสร็จน้องหันมาบอกเราว่ายานี้อาจจะมีผลข้างเคียงทำให้ปอดน้องมีปัญหาได้ น้องพูดเพียงแค่นั้น

ประมาณสิบเอ็ดโมง แพทย์ทางปอดที่เป็นญาติขึ้นมาตรวจเยี่ยมน้องแบบปกติ น้องจึงบอกแพทย์ทางปอดที่เป็นญาติไปว่ายาคีโมตัวใหม่มาแล้ว แพทย์ทางปอดที่เป็นญาติถามน้องว่ายาคีโมตัวใหม่น่ะหรือ น้องเลยตอบรับและแพทย์ทางปอดที่เป็นญาติจึงขอเราดู หลังจากที่ท่านดูเสร็จ ก็หันกลับมาพูดขำๆ ว่าเม็ดเล็กนิดเดียวนี่แพงเอาเรื่องนะเนี่ย พวกเราเลยขำและตอบกลับไปว่าเม็ดเดียวตั้งสามพันกว่าบาทเชียว แพทย์ทางปอดที่เป็นญาติบอกว่า อยากให้น้องอยู่ต่ออีกคืนเพราะว่าจะได้คอยดูอาการปัสสาวะเป็นเลือด เพราะหลังจากที่อัลตร้าซาวนด์เสร็จ น้องก็ไม่ได้ปัสสาวะเป็นเลือดอีกเลย เหมือนที่ใครๆ ว่าพอถึงมือหมอ เป็นหายทุกอาการให้คนเป็นได้แต่งงๆ

หลังจากนั้นมีทั้งญาติ คนในครอบครัวและเพื่อนๆ น้องมาเยี่ยมกันทั้งวัน ซึ่งโดยรวมแล้ววันนี้น้องดูปกติและสดใส หัวเราะได้เหมือนเดิมทุกอย่าง แต่เย็นวันนั้นเพื่อนๆ น้องมาเยี่ยมหลายคน เราจึงบอกน้องว่าเราจะลงไปทานข้าวด้านล่างกับน้องชาย เมื่อน้องชายมาถึง เราจึงรีบบอกน้องชายทั้งสองคนว่าน้องทานยาตัวใหม่ไปแล้ว น้องชายสองคนถึงกับอึ้ง ซึ่งน้องคนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการทานยาชุดนี้ เพราะว่ายาชุดนี้เป็นยาที่เก่ากว่ายาทาน Tarceva แต่น้องชายอีกคนรีบบอกเราว่า ยาชุดนี้ที่ประเทศอังกฤษและอเมริกาเลิกให้จำหน่ายและให้เลิกสั่งยาตัวนี้ให้กับคนไข้ไปแล้ว อย่างไรก็ตามยาตัวนี้ให้สั่งให้ได้กับคนไข้ที่เคยทานอยู่และใช้อยู่ ยา Iressa นั้นเป็นยาทานคล้ายๆกับ Tarceva ที่ออกมาทีหลัง แต่เท่าที่หาข้อมูลได้ก็คือ ตัวยา Iressa ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า การทานยานี้จะสามารถทำการรักษาตัวโรคได้จริง [1] สองประเทศยักษ์ใหญ่จึงสั่งให้เลิกสั่งยาตัวนี้ให้คนไข้ หลังจากที่ฟังแบบนั้นแล้ว เราก็หวั่นใจเล็กๆ กับผลของยาตัวนี้

[1] แหล่งที่มา 1, แหล่งที่มา 2

Quote:

In 2004, AstraZeneca informed the United States Food and Drug Administration (FDA) that a large randomized study failed to demonstrate a survival advantage for gefitinib (Iressa) in the treatment of non-small cell lung cancer (NSCLC). Whether progression-free survival is prolonged is not clear from this statement. AstraZeneca also withdrew their application to market gefitinib in Europe shortly after this announcement.

Erlotinib (Tarceva) is another EGFR tyrosine kinase inhibitor that works in the same way as gefitinib. Given the lack of survival advantage for gefitinib and the positive results for erlotinib, erlotinib has replaced gefitinib in the United States (except in patients where gefitinib has had a proven response).

แสดงความคิดเห็น

Filtered HTML

  • To post pieces of code, surround them with <code>...</code> tags. For PHP code, you can use <?php ... ?>, which will also colour it based on syntax.
  • Web page addresses and e-mail addresses turn into links automatically.
  • You may quote other posts using [quote] tags.
  • Allowed HTML tags: <a> <em> <strong> <cite> <blockquote> <code> <ul> <ol> <li> <dl> <dt> <dd>
  • Lines and paragraphs break automatically.

Comment Input

  • Web page addresses and e-mail addresses turn into links automatically.
  • Allowed HTML tags: <a> <em> <strong> <cite> <code> <ul> <ol> <li> <dl> <dt> <dd> <p> <img> <center> <font> <u> <br/>
  • Lines and paragraphs break automatically.

Plain text

  • No HTML tags allowed.
  • Web page addresses and e-mail addresses turn into links automatically.
  • Lines and paragraphs break automatically.